♦:[4]โครงงานวิทยาศาสตร์โครงการYSCครั้งที่ 15

on วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2556

ชื่อโครงงาน    เครื่องช่วยในการทำกายภาพบำบัดช่วงล่าง
      ผู้พัฒนาโครงงาน
1) นางสาวกัลยกร วีระอมรกุล
2) นางสาวจิระวรรณ นุ่มสารพัดนึก
       อาจารย์ที่ปรึกษา : นางมัทนา ดวงกลาง

บทคัดย่อ
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เรื่องเครื่องช่วยในการทำกายภาพบำบัดช่วงล่าง จัดทำขึ้นเพื่อประดิษฐ์เครื่องช่วยในการทำกายภาพบำบัดช่วงล่าง โดยมีการใช้โปรแกรมที่เขียนลงใน Arduino Board และ
ใช้ Board Drive เพื่อควบคุมให้มอเตอร์ทำงาน จากการทดสอบพบว่า เครื่องมีการเคลื่อนที่
โดยใช้การกดสวิตซ์ และการใช้เซ็นเซอร์ในการตรวจจับการเดิน โดยเมื่อกดสวิตซ์เดินหน้า 2 ล้อหน้า
จะทำงาน เมื่อกดสวิตซ์เลี้ยว ล้อข้างที่เลี้ยวจะมีการหมุนไปข้างหลังและล้อในฝั่งตรงข้ามจะหมุนไปข้างหน้า แต่เครื่องไม่มีการเคลื่อนที่
และในส่วนของเซ็นเซอร์นั้น ถ้าหากว่าคนไปอยู่ในระยะที่เซ็นเซอร์ตรวจจับได้ เคลื่อนก็จะมีการเคลื่อนที่ ซึ่งเซ็นเซอร์จับได้ในระยะที่ใกล้มากๆ ไม่ค่อยสะดวกต่อการใช้งาน
และในช่วงของการออกตัวและการหยุดนั้น เครื่องมีการออกตัวแบบกระชากและหยุดแบบไม่นิ่มนวล
จากการวิเคราะห์และการสังเกตุได้ว่า ควรมีการเขียนโปรแกรมให้เครื่องมีการออกตัวและหยุด
แบบนิ่มนวลมากขึ้น และควรมีการปรับหรือเปลี่ยนเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับการก้าวเดิน ให้เป็นเซ็นเซอร์ที่มีคุณภาพที่ดี และมีการตรวจจับที่ไกลกว่านี้

วัตถุประสงค์ของโครงงาน
           * เพื่อประดิษฐ์เครื่องช่วยในการทำกายภาพบำบัดช่วงล่าง
กระบวนการดำเนินงาน
     ส่วนที่ 1 โครงสร้าง
1) ออกแบบโครง และทำโครงของเครื่องช่วยในการทำกายภาพบำบัดช่วงล่าง
2) นำล้อมายึดติดกับมอเตอร์ โดยใช้วิธีการกลึงเหล็ก
3) นำมอเตอร์ที่ติดกับล้อแล้ว มายึดติดกับโครง โดยที่ 2 ล้อหน้าเป็นล้อที่ยึดติดกับมอเตอร์ และ 2 ล้อหลังเป็นล้อธรรมดา (เพื่อให้ 2ล้อหลังเป็นล้อตาม) และพ่นสี
     ส่วนที่ 2 สวิตซ์
1) นำสวิตซ์และตัวต้านทานมาเชื่อมต่อกันบนแผ่นปริ้นอเนกประสงค์
2) มีสวิตซ์ทั้งหมด 3 ตัว คือ 1. สวิตซ์เริ่มการทำงานของเครื่อง 2. สวิตซ์เลี้ยวซ้าย
3. สวิตซ์เลี้ยวขวา
     ส่วนที่ 3 เซ็นเซอร์อินฟาเรด (ตรวจจับการก้าวเดิน)
1) นำเซ็นเซอร์และตัวต้านทานมาเชื่อมต่อกันบนแผ่นปริ้นอเนกประสงค์
2) มีเซ็นเซอร์ทั้งหมด 2 ตัว ติดไว้บริเวณแถบเดียวกับล้อด้านหลัง
     ส่วนที่ 4 การเชื่อมต่อเข้ากับบอร์ด
1) นำ REFILL WIRE FEMALE มาเชื่อมระหว่าง Arduino Board และ Board Drive
2) นำแผงที่ต่อสวิตซ์แล้ว มาต่อเข้ากับ Arduino Board
3) นำสายไฟที่ต่อจาก Board Drive ต่อเข้ากับแบตเตอรี่ และต่อเข้ากับมอเตอร์
     ส่วนที่ 5 ส่วนของโปรแกรม
1) เขียนโปรแกรม
2) ตรวจสอบโปรแกรม
3) รันโปรแกรมลงใน Arduino Board
4) ทดสอบโปรแกรมจากเครื่องช่วยในการทำกายภาพบำบัดช่วงล่าง และบันทึกผล





ชื่อโครงงาน   การพัฒนาโปรแกรมควบคุมความเร็วรอบใบพัดของพัดลมตามอุณหภูมิเพื่อลดการใช้กระแสไฟฟ้า            
        ผู้พัฒนาโครงงาน
               1)   นายธนาการ    รุ่งเรือง
               2)  นายรัฐภูมิ    สินศิริ 
               3)   นายจิรพัส    สร้อยศักดิ์                                                                                                                                           
        อาจารย์ที่ปรึกษา  นางมัทนา     ดวงกลาง

บทคัดย่อ

               โครงงานนี้จัดทำขึ้นเพื่อออกแบบและสร้างอุปกรณ์ที่สามารถวัดอุณหภูมิเพื่อใช้ในการปรับความเร็วของพัดลมโดยสามารถปรับได้ 3 ระดับตามอุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความเร็วของพัดลมก็จะสูงขึ้นด้วยแต่เมื่อมีอุณหภูมิต่ำลงความเร็วของพัดลมจะลดลง โดยใช้บอร์ดarduino fini328  บอร์ดรีเลย์ และเซ็นเซอร์SHT15 ในการควบคุมความเร็วของพัดลม

  พัดลมสามารถปรับระดับความเร็วได้ตามอุณหภูมิ เมื่อนำไปวางไว้ที่มีแสงแดดส่องโดนเซ็นเซอร์ วัดค่าอุณหภูมิแล้วประมวลผลทำให้พัดลมทำงานที่เบอร์ 3 เนื่องจากมีอุณหภูมิสูงเกินที่กำหนดไว้  เมื่อนำไว้ในที่ไม่มีแสงแดดส่งถึง เซ็นเซอร์วัดค่าอุณหภูมิแล้วประมวลผลทำให้พัดลมทำงานที่เบอร์ 2 เนื่องจากอุณหภูมิอยู่ระหว่างค่าที่กำหนดไว้  เมื่อนำไปไว้ในห้องแอร์ เซ็นเซอร์วัดค่าอุณหภูมิแล้วประมวลผลทำให้พัดลมทำงานที่ เบอร์ 1 เนื่องจากอุณหภูมิต่ำกว่าค่าที่กำหนดไว้


วัตถุประสงค์การทดลอง                                                                                                                    
            เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบใบพัดลมตามอุณหภูมิด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์


กระบวนการทดลอง

               เครื่องมือ วัสดุ  อุปกรณ์

                             - Board: USB Board Fino 328

                             - รีเลย์ ET-OPTO-Relay4

                             - เซ็นเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ SILA-SHT15

                             - PIN HEADER CONNECTOR

                             - REFILL WIRE FEMALE 22 cm

                             - SWITCHING ADAPTOR 240VAC/5VDC 1.2A

                             -สายสัญญาณ USB AM/BM CRAVE 3M

                             - พัดลมตั้งโต๊ะ  1 ตัว

                              -ถ่าน 1.5V      2 ก้อน

                              -ถ่าน 9V     1 ก้อน

                ขั้นตอนการดำเนินงาน
                               - ศึกษาอุปกรณ์
                                 ออกแบบโปรแกรม
                                - ต่ออุปกรณ์

                                - ทดสอบการใช้งานพัดลม


ชื่อโครงงาน        หุ่นยนต์ต้อนรับภายในโรงเรียนองครักษ์  

ชื่อผู้จัดทำโครงงาน        
                 1. นางสาวกาญจนา คล้ายคลึง

                 2. นางสาวนิพาดา สุคะประเสริฐ   

                 3.  นางสาวอาภาภัทร จิระโร

อาจารย์ที่ปรึกษา       นายวิเชียร ลำเจียก  

 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

                เนื่องจากในปัจจุบันตามสถานที่ต่างๆ เวลามีผู้คนไปเยี่ยมชมมักจะใช้วิทยากรในการต้อนรับและบรรยายเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่น่าสนใจแก่ผู้เยี่ยมชม  และจากการที่ข้าพเจ้าได้เข้าอบรมในค่ายของ NECTEC ประกอบกับการได้ชมวิดีโอเรื่องหนึ่ง ซึ่งพบว่ามีการสแกนและตรวจจับคนได้   กลุ่มผู้จัดทำจึงเกิดแนวคิดที่จะประดิษฐ์หุ่นยนต์เพื่อใช้ในการต้อนรับและบรรยายเรื่องราวเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ   โดยกลุ่มผู้จัดทำได้ไปศึกษาเพิ่มเติมจึงได้แนวคิดในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ต้อนรับเพื่อใช้แทนคน ซึ่งโครงสร้างภายนอกจะใช้วัสดุเหลือใช้มาประกอบกันเป็นโครงสร้างภายนอกและโครงสร้างภายในจะใช้หลักการระบบ Image Processing โปรแกรม Microsoft Visual C# 2010 Express   ที่เชื่อมต่อกับวงจรรถบังคับ ลำโพง กล้อง Webcam และแผงวงจรอิเลคทรอนิคส์ที่ทำงานร่วมกันให้หุ่นยนต์ทำงานในลักษณะที่คล้ายคนได้โดยอัตโนมัติ  

                 กลุ่มผู้จัดทำจึงสนใจที่จะประดิษฐ์หุ่นยนต์ต้อนรับขึ้นใช้ภายในโรงเรียนองครักษ์  เนื่องมาจากเวลาที่มีแขกมาเยี่ยมชมโรงเรียนคุณครูหรือนักเรียนก็ต้องไปต้อนรับ   ซึ่งบางครั้งนักเรียนก็ต้องเรียนหนังสือถ้าไปต้อนรับก็จะไม่ได้เรียนหนังสือ และคุณครูก็ต้องสอนหรือบางครั้งที่อาจติดธุระไม่สามารถมาต้อนรับได้   ถ้ามีหุ่นยนต์ต้อนรับมาทำหน้าที่ต้อนรับและบรรยายเรื่องราวของโรงเรียนแทนก็จะเป็นผลดีอย่างมากข้าพเจ้าจึงประดิษฐ์หุ่นยนต์ต้อนรับภายในโรงเรียนองครักษ์นี้ขึ้นมา


  วัตถุประสงค์ของโครงงาน

           1.   เพื่อประดิษฐ์หุ่นยนต์ต้อนรับภายในโรงเรียนองครักษ์

           2.   เพื่อทดสอบการทำงานของหุ่นยนต์


      1. ขั้นเตรียมการ


                ศึกษาทฤษฎี หลักการต่างๆ และค้นคว้าเอกสารตำรา การสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต เกี่ยวกับการเขียนกระบวนความโดยใช้โปรแกรม Microsoft Visual C# 2010 Express ระบบ Image Processing และรวบรวมข้อมูล ปัญหา เกี่ยวกับการจัดต้อนรับผู้มาเยี่ยมชมโรงเรียนองครักษ์   ประชุมคณะผู้จัดทำ และครูที่ปรึกษา ในการหาแนวทางขอยืมเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับใช้งานในโครงงานหุ่นยนต์ต้อนรับ ซึ่งเป็นโครงงานที่ใช้ทรัพยากรของเครื่องไม่มาก


      1.1   จัดสร้าง จัดหา จัดซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง และอุปกรณ์ประกอบ ต่างๆได้แก่

                1.1.1   จัดซื้อตัว บังคับขนาดใหญ่ ไฟ 6 โวลต์                    

                1.1.2   จัดซื้อแผงวงจร ได้แก่ บอร์ดไดร์ฟ และ USB BOARD FINO328

                1.1.3   จัดซื้อ SWITCHING ADAPTOR 240VAC/5VDC 1.2A

                1.1.4   จัดซื้อ REFILL WIRE FEMALE 22 cm.                                                 

                1.1.5   จัดซื้อ PIN HEADER CONNECTOR 40 PINS                                

                1.1.6    จัดหาวัสดุเหลือใช้สำหรับทำโครงสร้างภายนอกของหุ่นยนต์





       2.   ขั้นดำเนินการ

        หลังจากได้อุปกรณ์ในการจัดทำครบแล้ว กลุ่มของข้าพเจ้าจึงดำเนินการประดิษฐ์หุ่นยนต์ซึ่งมี เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ และขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้ 

 เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์  

   ส่วนประกอบและโครงสร้างภายนอกของหุ่นยนต์

   ขนาดของหุ่นยนต์   เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 60 เซนติเมตร สูง    165   เซนติเมตร

          1.  ส่วนหัวของหุ่นยนต์ประดิษฐ์จาก

                  -   ลูกบอล                                                                      

                 -     กระดาษแข็ง                                                 

                 -     เทปกาวสีดำ                                    

                 -     เทปกาวสีชมพู                                           

                 -     เทปกาวสีส้ม                                            

                 -     เทปกาวสีเหลือง                                                      

        2. ส่วนลำคอของหุ่นยนต์ประดิษฐ์จาก

                 -     พัดลมตั้งโต๊ะ( ที่ไม่ใช้แล้ว )                        

       3. ส่วนลำตัวของหุ่น

               -      ประดิษฐ์จากถังใส่น้ำขนาดใหญ่                       

       4. ส่วนแขนของหุ่นยนต์ ประดิษฐ์จาก

               -     ท่อ PVC  ขนาด  นิ้ว                                      

      5. ส่วนฐานของหุ่นยนต์ ประดิษฐ์จาก

              -    รถบังคับ                                                           

              -     น็อต   (ตามความเหมาะสม)    

      6. สว่าน

      7.  ไขควง         


ขั้นตอนในการดำเนินงาน

            วิธีการประดิษฐ์หุ่นยนต์

โครงสร้างภายนอก

1.             นำถังพลาสติกเจาะรูด้วยสว่านประกอบติดกับรถบังคับด้วยน็อต

2.             เจาะรูที่ตัวถังห่างจากขอบล่างประมาณ  2 นิ้ว สำหรับเป็นที่ใส่แขนหุ่นยนต์ทั้งสองข้าง

3.             นำท่อพีวีซีมาต่อเป็นแขนหุ่นยนต์ และใช้เทปกาวลายพันทับเพื่อความสวยงาม

4.             จากนั้นนำพัดลมตั้งโต๊ะที่ไม่ใช้แล้วมาถอดมอเตอร์ออกให้ เหลือเพียงส่วนฐาน

5.             เจาะรูลูกบอลด้วยสว่านและประกอบเข้ากับฐานของพัดลม

6.             ใช้เทปาวสีชมพูพันรอบหัวหุ่นยนต์

7.             ตัดการดาษแข็งเป็นรูปวงกลมเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ   2 เซนติเมตร จำนวน 2 และพันด้วยเทปกาวสีดำเป็นตาของหุ่นยนต์  

8.             ตัดกระดาษแข็งเป็นรูปครึ่งวงกลมแล้วพันด้วยเทปกาวสีส้มและสีเหลืองเพื่อทำเป็นปากของหุ่นยนต์

9.             ประกอบชิ้นส่วนต่างๆ เข้ากันให้เรียบร้อย



     โครงสร้างภายใน

10.       เขียนโปรแกรม  Microsoft Visual C# 2010 Express ควบคู่กับระบบ Image Processing  ควบคุมหุ่นยนต์

11.      ต่อแผงบอร์ดไดร์ฟเข้ากับแผงวงจรพร้อมกับสวิตปิดเปิดเข้ากับตัวรถบังคับและเพลาล้อรถบังคับ

12.      ต่อแผงบอร์ดไดร์ฟเข้ากับ USB บอร์ด

13.      เก็บสายไฟให้เรียบร้อยด้วยเคเบิลไทล์

14.      ต่อสาย USB จากคอมพิวเตอร์โน้ตบุค กับ USB บอร์ด

15.      รันโปรแกรม



By:EarthThanakorn. ขับเคลื่อนโดย Blogger.